กรณีเกิดเหตุด่วนเหตุร้าย
กรณีเกิดเหตุด่วน เหตุร้าย เกิดอัคคีภัย ต้องการแจ้งตำรวจเพื่อขอความช่วยเหลือ หรือรถพยาบาล สามารถโทรศัพท์ติดต่อ หมายเลขฉุึกเฉิน 999
หากต้องการแจ้งสถานเอกอัครราชทูตฯ สามารถติดต่อที่หมายเลข 0207 225 5500 หรือ 0207 589 2944
กรณีฉุกเฉิน ในวันหยุดราชการ สามารถติดต่อ 07918 651 720
การขอหนังสือสำคัญประจำตัว (Certificate of Identity - C.I.)
หนังสือสำคัญประจำตัว (Certificate of Identity-C.I.) เป็นเอกสารเดินทางชั่วคราว ที่ออกให้แก่ผู้ที่ทำหนังสือเดินทางสูญหาย หรือหนังสือเดินทางหมดอายุ และจะต้องเดินทางกลับประเทศไทยโดยเร่งด่วน สามารถใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้เท่านั้น มีอายุการใช้งาน 10 วันนับจากวันที่ออกให้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงขอหลักฐานการจองตั๋วเครื่องบินประกอบเป็นหลักฐานด้วย
การออกหนังสือสำคัญประจำตัว สถานเอกอัครราชทูตฯ ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5 วันทำการ สามารถเดินทางมาติดต่อได้ทุกวันทำการ เวลา 9.30 – 12.30 น. โดยไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้า
1. หลักฐานประกอบ ในกรณีหนังสือเดินทางสูญหาย
1. ใบแจ้งความ
2. สำเนาหนังสือเดินทางเล่มเดิม/ สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน
3. รูปถ่ายขนาดเดียวกับที่ ใช้ในหนังสือเดินทางจำนวน 3 รูป
4. แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทางชั่วคราว (แบบฟอร์มที่ 4) จำนวน 2 ชุด
5. บันทึกสอบสวน (แบบฟอร์มที่ 2) จำนวน 2 ชุด
6. บันทึกประกอบคำร้องกรณีหนังสือเดินทางสูญหาย (แบบฟอร์มที่ 3) จำนวน 2 ชุด
7. ค่าธรรมเนียม 10 ปอนด์ (เงินสด)
2. หลักฐานประกอบ ในกรณีหนังสือเดินทางหมดอายุ
1. สำเนาหนังสือเดินทางเล่มเดิม/ สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน
2. รูปถ่ายขนาดเดียวกับที่ใช้ในหนังสือเดินทางจำนวน 3 รูป
3. แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทางชั่วคราว (แบบฟอร์มที่ 4) จำนวน 2 ชุด
4. บันทึกสอบสวน (แบบฟอร์มที่ 2) จำนวน 2 ชุด
5. ค่าธรรมเนียม 10 ปอนด์ (เงินสด)
คำปรึกษาด้านกฎหมายเกี่ยวกับสหราชอาณาจักร
การอาศัยอยู่ในต่างแดน ท่านควรมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ ของท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับตัวท่าน หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการปรึกษาข้อกฎหมาย ท่านสามารถติดต่อ Citizen Advice Bureau ที่ตั้งอยู่ในเขตของท่าน โดย Citizen Advice Bureau จะมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ อาจต้องทำการนัดหมายก่อน
นอกจากนี้ ท่านยังสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายของสหราชอาณาจักรฯ ในเบื้องต้น จากเว็บไซต์ www.citizensadvice.org.uk หรือ www.adviceguide.org.uk ซึ่งมีข้อมูลค่อนข้างครอบคลุม อาทิ กฎหมายครอบครัว กฎหมายเกี่ยวกัีบภาษี การได้รับสวัสดิการของรัฐ กฎหมายเข้าเมือง และสิทธิต่างๆ ที่บุคคลพึงจะได้รับ
กรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มักเกิดขึ้นในสหราชอาณาจักรฯ ได้แก่
- น้ำท่วมฉับพลัน (มักเกิดบริเวณตอนเหนือของเกาะอังกฤษ อาทิ เขต Yorkshire, Hull, Sheffield, Cambria)
- คลื่นความร้อน (Heat wave) อุณหภูมิสูงจัดทั่วประเทศในช่วงฤดูร้อน
- หิมะตกอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานและอุณหภูมิติดลบ ซึ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศ
กรมอุตุนิยมวิทยา ของสหราชอาณาจักรฯ มีหน้าที่โดยตรงในการประกาศเตือนประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ หน่วยงานให้ข้อมูลและประชาสัมพันธ์เตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ ได้แก่
- กรมอุตุนิยมวิทยา www.metoffice.gov.uk
- สอบถามสถานการณ์น้ำท่วม Floodline: 0845 9881188 หรือ โทรรายงานน้ำท่วม 0300 200 0100
- หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน 999
ในกรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดทางโทรทัศน์ วิทยุ เว็บไซต์ และประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยของตัวท่านเอง ตลอดจนตรวจสอบเอกสารประจำตัวและเอกสารสำคัญ หากมีความจำเป็นต้องอพยพควรแจ้งให้ญาติหรือบุคคลใกล้ชิดทราบ และติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ
กรณีเกิดเหตุการณ์วุ่นวาย หรือสถานการณ์ไม่ปกติ
ข้อแนะนำสำหรับคนไทยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
1. ในสภาวะปกติ
1.1 กรุณาสำรวจว่าตนเองและบุคคลในครอบครัวมีเอกสารเดินทางครบถ้วน พร้อมเดินทางหากจำเป็น
1.2 กรุณาแจ้งที่อยู่และหมายเลขติดต่อให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ทราบ
1.3 มีเบอร์โทรศัพท์และที่อยู่สถานเอกอัครราชทูตฯ ติดตัวตลอดเวลา
1.4 พยายามติดต่อเพื่อนคนไทยสม่ำเสมอ
2. ในสภาวะที่มีความไม่ปลอดภัย/เหตุการณ์ฉุกเฉิน
2.1 เตรียมเอกสารเดินทางให้พร้อมเดินทางหากจำเป็น
2.2 ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อรับข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว
2.3 ติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ วิทยุ และกลุ่มเพื่อนคนไทย ให้เพื่อนรู้ว่า เราอยู่ที่ใด ไปที่ไหน
2.4 สำรองอาหารเครื่องดื่ม เชื้อเพลิง ที่จำเป็น
2.5 หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีปัญหา หลีกเลี่ยงการเดินทางในยามวิกาล
2.6 ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับตน บุคคลที่ไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ ควรเดินทางออกนอกพื้นที่เสี่ยง
3. เมื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน
3.1 ติดต่อเพื่อขอคำแนะนำจากสถานเอกอัครราชทูตฯ หมายเลข 0207 589 2944 ต่อ 5500 หรือเปิดดูคำ
แนะนำจากเว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูตฯ
3.2 อยู่แต่ในสถานที่พักอาศัยและให้สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา
3.3 เดินทางออกนอกพื้นที่เกิดเหตุ
3.4 รวมจุดนัดหมายที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ณ กรุงลอนดอน หรือวัดไทยที่ใกล้ที่สุด
3.5 ติดตามประกาศจากสถานเอกอัครราชทูตฯ อย่างต่อเนื่อง
กรณีถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม
♦ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีสิทธิจับและสอบสวนบุคคลที่เห็นว่ามีพฤติกรรมน่าสงสัย (ไม่จำเป็นต้องมีหมายจับ) หากท่านถูกตำรวจจับควรให้ความร่วมมือและไม่ควรแสดงอาการขัดขืนหรือพูดจาไม่สุภาพ
♦ หากไม่มั่นใจว่าบุคคลที่จับกุมท่านเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ท่านสามารถขอดูบัตรประจำตัวของเจ้าหน้าที่ได้
♦ หากถูกนำไปสถานีตำรวจเพื่อสอบสวน ท่านมีสิทธิใช้โทรศัพท์ได้ 1 ครั้ง เพื่อแจ้งให้บุคคลใกล้ชิดทราบ และท่านมีสิทธิ
ขอให้ตำรวจแจ้งให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ทราบ (หากท่านไม่ประสงค์ ตำรวจจะไม่สามารถแจ้งรายละเอียดของท่าน
ต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ)
ขอให้ตำรวจแจ้งให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ทราบ (หากท่านไม่ประสงค์ ตำรวจจะไม่สามารถแจ้งรายละเอียดของท่าน
ต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ)
♦ ขั้นตอนการสอบสวนอาจใช้เวลานานหลายชั่วโมง แต่ตำรวจไม่สามารถกักขังท่านได้เกิน 24 ชั่วโมง โดยไม่แจ้งข้อหา
♦ ในการสอบสวน ท่านมีสิทธิร้องขอทนาย (ตำรวจสามารถจัดหาทนายให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) และขอให้จัดหาล่ามใน
กรณีที่ท่านไม่มั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ
กรณีที่ท่านไม่มั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ
♦ ในกรณีที่เห็นว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอต่อการฟ้องร้อง ตำรวจอาจปล่อยตัวท่าน หรือมีคำสั่ง release on police bail
หมายถึง ปล่อยตัวแต่อาจนัดหมายให้ท่านกลับไปรายงานตัว หรือสอบสวนเพิ่มเติมหากเห็นสมควร
หมายถึง ปล่อยตัวแต่อาจนัดหมายให้ท่านกลับไปรายงานตัว หรือสอบสวนเพิ่มเติมหากเห็นสมควร
♦ ในกรณีที่ตำรวจเห็นควรดำเนินคดี จะนำคดีขึ้นฟ้องศาล หากเป็นคดีร้ายแรงตำรวจมีสิทธิกักขังผู้ต้องหาในระหว่างรอขึ้น
ศาลได้ (remand custody until trial)
ศาลได้ (remand custody until trial)
กรณีญาติเสียชีวิตในสหราชอาณาจักรฯ หรือไอร์แลนด์
♦ ในกรณีที่คนไทยเสียชีวิตในสหราชอาณาจักรฯ หรือไอร์แลนด์ ญาติสามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ
เพื่อขอรับมรณบัตรไทย เพื่อนำไปใช้ที่ประเทศไทยได้ (ขั้นตอนและหลักฐานปรากฏในเว็บไซต์นี้ ในหัวข้อ
“การขอมรณะบัตร”)
♦ การจัดการศพ ญาติสามารถติดต่อบริษัทเอกชนที่ให้บริการจัดการศพ (funeral service) ไม่ว่าจะเป็นการเผา
หรือการฝัง ซึ่งค่าใช้จ่ายมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับพิธี รูปแบบการจัดการศพ วัสดุที่เลือกใช้ ฯลฯ
หรือการฝัง ซึ่งค่าใช้จ่ายมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับพิธี รูปแบบการจัดการศพ วัสดุที่เลือกใช้ ฯลฯ
♦ ในกรณีที่ประสงค์จะส่งศพกลับประเทศไทย มีบริษัทเอกชนที่ให้บริการส่งศพกลับภูมิลำเนา โดยจะดูแลตั้งแต่
เรื่องการจัดการเอกสาร การเก็บศพ การจัดส่ง แต่บริการส่งศพดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทั้งนี้ หากผู้เสีย
ชีวิตเป็นนักท่องเที่ยวและมีประกันการเดินทาง ควรติดต่อบริษัทประกัน เนื่องจากกรมธรรม์มักจะครอบคลุมค่าใช้
จ่ายในการส่งศพ
เรื่องการจัดการเอกสาร การเก็บศพ การจัดส่ง แต่บริการส่งศพดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทั้งนี้ หากผู้เสีย
ชีวิตเป็นนักท่องเที่ยวและมีประกันการเดินทาง ควรติดต่อบริษัทประกัน เนื่องจากกรมธรรม์มักจะครอบคลุมค่าใช้
จ่ายในการส่งศพ
♦ ในกรณีที่คนไทยเสียชีวิต แต่ญาติไม่สามารถเดินทางมาจัดการศพที่สหราชอาณาจักรฯ หรือไอร์แลนด์ได้
สามารถติดต่อกระทรวงการต่างประเทศที่กรุงเทพฯ (กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
โทร. (+66) 02 575-1047 ถึง 51 เพื่อมอบอำนาจให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ดำเนินการแทนได้
สามารถติดต่อกระทรวงการต่างประเทศที่กรุงเทพฯ (กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
โทร. (+66) 02 575-1047 ถึง 51 เพื่อมอบอำนาจให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ดำเนินการแทนได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น